เมนู

9. อรัญญสูตร


ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม 4 ไม่ควรอยู่ป่า


[262] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
ไม่ควรเสพเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้มีปัญญาทราม เพราะกามวิตก 1 พยาบาทวิตก 1 วิหิงสาวิตก 1 และเป็น
ผู้โง่เขลาบ้าน้ำลาย 1 ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ไม่ควร
เสพเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ควรเสพ
เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า 4 ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มี
ปัญญา เพราะเนกขัมมวิตก 1 อพยาบาทวิตก 1 อวิหิงสาวิตก 1 และเป็นผู้ไม่
โง่เขลาไม่บ้าน้ำลาย 1 ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ควรเสพ-
เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า.
จบอรัญญสูตรที่ 9

10. กัมมปถสูตร


ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบริหารตน 4


[260] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ
ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นผู้
ประกอบด้วยโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันมีโทษ 1 วจีกรรมอันมีโทษ 1

มโนกรรมอันมีโทษ 1 ทิฏฐิอันมีโทษ 1 คนพาลผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ
ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมบริหารคนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย
เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญ
เป็นอันมาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ผู้ประกอบด้วย
ธรรม 4 ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่ประกอบ
ด้วยโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม 4
ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันไม่มีโทษ 1 วจีกรรมอันไม่มีโทษ 1
มโนกรรมอันไม่มีโทษ 1 ทิฏฐิอันไม่มีโทษ 1 บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ
ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
ไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ดังนี้แล.
จบกัมมปถสูตรที่ 10
จบอภิญญาวรรคที่ 6

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อภิญญาสูตร 2. ปริเยสนาสูตร 3. สังคหสูตร 4. มาลุง-
กยปุตตสูตร 5. กุลสูตร 6. ปฐมอาชานียสูตร 7. ทุติยอาชานียสูตร
8. พลสูตร 9. อรัญญสูตร 10. กัมมปถสูตร และอรรถกถา.